Hot News :

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

รายงานผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เทศบาลตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สรุปผลการดำเนินการเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้ส่วนร่วม ในการดำเนินงานของเทศบาลตำบลกุดชมภู ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วันที่ 18-25 มีนาคม 2567 เทศบาลตำบลกุดชมภู ได้ดำเนินการจัดประชุมประชาคมทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) ครั้งที่ 1/2567 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้ 1.ชื่อโครงการ/กิจกรรม การจัดเวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน ในการทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) ครั้งที่ 1/2567 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 1.1 วัน/เดือน/ปี ที่ดำเนินการ : วันที่ 18-29 มีนาคม 2567 1.2 สถานที่ดำเนินการ : ศาลาประชาคมหมู่บ้าน 19 หมู๋บ้าน ดังนี้ หมู่ 1 บ้านยอดดอนชี หมู่ 2 บ้านคำเม็ก หมู่ 3 บ้านโชคอำนวย หมู่ 4 บ้านหินสูง หมู่ 5 บ้านแก่งเจริญ หมู่ 6 บ้านหินลาด หมู่ 7 บ้านดอนหวาย หมู่ 8 บ้านโนนม่วง หมู่ 9 บ้านดอนสำราญ หมู่ 10 บ้านแสนตอ หมู่ 11 บ้านกุดชมภู หมู่ 12 บ้านห้วยไผ่ หมู่ 13 บ้านโนนเจริญ หมู่ 14 บ้านโนนจิกน้อย หมู่ 15 บ้านดอนไม้งาม หมู่ 16 บ้านวังดู หมู่ 17 บ้านใหม่นาคลอง หมู่ 18 บ้านโนนโพธิ์ หมู่ 19 บ้านทุ่งพัฒนา 1.3 ประเด็น/เรื่องการมีส่วนร่วม 1.3.1 การทบทวนโครงการกิจกรรมที่มีอยู่ในแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) จากปัญหา/ความต้องการของประชาชน (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และผู้เข้าร่วมประชุมประชาคม) 1.3.2 การเสนอโครงการเพิ่มเติม จากปัญหา/ความต้องการของประชาชนที่เสนอขึ้นมาใหม่ 1.3.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ กลุ่มจังหวัดและจังหวัด โดยให้เน้นดำเนินการใน ยุทธศาสตร์ที่สำคัญและมีผลต่อประชาชนโดยตรง 1.3.4 กรอบนโยบาย ทิศทาง แนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด 1.4 สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม มีผู้เข้ารวมประชุม จำนวน 764 คน ได้แก่ 1.4.1 คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 3 คน 1.4.2 สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกุดชมภู จำนวน 12 คน 1.4.3 ผู้ใหญ่บ้าน /ผู้นำชุมชน/ อสม./คณะกรรมการ หมู่บ้าน จำนวน 95 คน 1.4.4 ประชาชนผู้เข้าร่วมประชุม 19 หมู่บ้าน จำนวน 654 คน 1.5 ผลจากการมีส่วนร่วม 1.5.1 ประชาชนในตำบลกุดชมภู ได้มีส่วนร่วมเสนอปัญหาและความต้องการ ตลอดจน กำหนดแนวทาง ในการพัฒนาท้องถิ่น ของตนเองผ่านกระบวนการประชาคม 1.5.2 โครงการที่ทบทวน และเสนอขึ้นมาใหม่ ในที่ประชุม มีมติให้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 1/2567 1.6 การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน 1.6.1 โคงรงการที่ทบทวนและเสนอขึ้นใหม่ นำเสนอจากความต้องการ นำไปบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อนำไปพัฒนาทางด้านต่างๆ เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคุณภาพชีวิต ด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ 1.7 ประมวลภาพกิจกรรม

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลกุดชมภู นายยงยุตย์ คำก้อน รองนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลกุดชมภู ร่วมประชุมพิจารณาการตรวจสอบข้อเท็จจริงสำรวจความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย พายุโซนร้อนโนรู(NORU) มีผลกระทบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดพายุฝนตกฟ้าคะนอง เป็นบริเวณกว้าง ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนที่พักอาศัย พื้นที่การเกษตร ในเขตพื้นที่ตำบลกุดชมภู ทำให้บ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 35 ราย เพื่อเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 ของกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับทราบแนวทางการช่วยเหลือ โดยมีการออกตรวจสอบข้อเท็จจริงและสำรวจความเสียหายรวมทั้งความต้องการช่วยเหลือด้านต่างๆ ของผู้ประสบสาธารณภัย และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย มีจำนวน 52 คน ดังนี้ 1 หัวหน้าส่วนราชการในเทศบาลตำบลกุดชมภู 2 กำนันตำบลกุชมภู 3 ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ประสบอุทกภัย 4 ชาวบ้านที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย จากการประชุมร่วมกันได้ผลสรุปคือ ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินในกรณีใด กรณีหนึ่งใน 3 กรณี ดังนี้ (1) กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท (2) กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท (3) กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 60 วัน ขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือครัวเรือนละ 9,000 บาท สำหรับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ดังนี้ หลักเกณฑ์ (1) ต้องเป็นกรณีอุทกภัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยในช่วงฤดูฝนปี 2565 ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม ถึง 28 ตุลาคม 2565 ทั้งกรณีน้ำท่วมโดยฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงการระบายน้ำจนส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้ และ (2) ต้องเป็นที่อยู่ที่ประสบอุทกภัยตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน ซึ่งได้รับผลกระทบกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป-เงื่อนไข (1) ต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกให้ และต้องผ่านการประชาคมหมู่บ้านของแต่ละพื้นที่ประสบสาธารณภัย และผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานคร (2) กรณีที่ประสบภัยหลายครั้ง ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว โดยที่ประชุมประชาชนที่ได้รับความเสียหาย ได้ยอมรับในหลักเกณฑ์เงื่อนไขการช่วยเหลือ ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ผู้มีทรัพย์สินเสียหายจำนวน 30 ราย 2. ไม่เข้าหลักเกณฑ์ ผู้มีทรัพย์สินไม่เสียหาย จำนวน 5 ราย ซึ่งทางเทศบาลตำบลกุดชมภู จะนำผลสรุปที่ได้จากการประชุมรับฟังหลักเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝน ตามมติ ครม. รายงานต่ออำเภอแต่งตั้งคณะทำงานสำรวจ ตรวจสอบ เสนอ ก.ช.ภ.อ. ให้ความเห็นชอบเพื่อเป็นการช่วยหลือประชาชนบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และให้นายอำเภอลงนามรับรองความถูกต้องต่อไป

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลกุดชมภู นำโดยนายมนตรี ศรีคำภา นายกเทศมนตรีตำบลกุดชมภู ร่วมประชุมพิจารณาแนวทางการจัดการแข่งขันกีฬากุดชมภูเกมส์ ครั้งที่ 24 โดยการจัดการแข่งขันเป็นไปตามพระราชบัญญัติ เทศบาล พ.ศ. 2496 ให้ไว้ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2696 ได้ตราไว้ในมาตราที่ 50 (7) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่10 พ.ศ.2542) ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และการออกกำลังกาย การเล่นกีฬาเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริม การพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน เพราะทำให้เกิดความแข็งแรง สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตลอดจนทำให้เยาวชนประชาชนมีน้ำใจ เป็นนักกีฬา ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย ความสามัคคี ความกล้าหาญ อดทน เสียสละ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ซึ่งเป็นการสร้างคุณความดี โดยใช้กีฬาเป็นสื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลยาเสพติด สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน ประชาชน ตามพระราชดำริ “กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ” เพื่อให้เด็กและเยาวชน ประชาชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และรักการเล่นกีฬา การส่งเสริมให้เด็ก และเยาวชน ประชาชน ออกกำลังกายทำให้มีพลานามัยร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง เป็นการส่งเสริมให้เด็กเยาวชน ประชาชนมีทักษะพื้นฐาน เข้าใจกฎ กติกาในการแข่งขันกีฬา เพื่อให้เยาวชน ประชาชนหันมาสนใจกิจกรรมกีฬาเพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เพื่อลดปัญหาต่างๆ ในสังคมโดยเฉพาะปัญหายาเสพติด เพื่อให้การแข่งขันกีฬาเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ และบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประชุม วางแผน แนวทางการดำเนินการ จากทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกในพื้นที่ตำบลกดชมภู จึงให้ทุกภาคส่วนได้เข้าประชุมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเสนอแนะแนวทาง ปรับปรุง การแข่งขัน โดยมีประเด็นในการพิจารณาในการประชุมดังนี้1. การแบ่งกลุ่มในการใช้การแข่งขันกีฬา 2. การกำหนดวัน เวลา สถานที่ การแข่งขันกีฬา3. การกำหนดประเภทการกีฬา-กีฬาพื้นบ้าน4. การกำหนดอัตราค่าบำรุงทีมโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 88 คน ประกอบด้วย 1. ผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดชมภู จำนวน 5 คน 2. หัวหน้าส่วนราชการเทศบาลตำบลกุดชมภู จำนวน 6 คน3. สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกุดชมภูจำนวน 12 คน4. ผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่จำวน 5 คน5. ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหารจำนวน 1 คน6. ผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวรชายแดน ที่ 226 จำนวน 1 คน 7. ผู้อำนวยการ รพ.สต.กุดชมภู จำนวน 1 คน 8. กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 19 คน9. ตัวแทนนักกีฬา 19 หมู่บ้าน จำนวน 38 คน จากการประชุมที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็น และเสนอแนะ มีมติที่ประชุม ได้ผลสรุป คือ เรื่องที่ 1 การแบ่งกลุ่มในการแข่งขันกีฬา เดิมมีการจัดการแข่งขันแยกเป็น 19 หมู่บ้าน ในการจัดการแข่งขันปีนี้ มีการแบ่งกลุ่มหมู่บ้านในการแข่งขันเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มที่ 1 ได้แก่ หมู่ 1 บ้านยอดดอนชี/หมู่ 2 บ้านคำเม็ก/หมู่ 3 บ้านโชคอำนวย กลุ่มที่ 2 ได้แก่ หมู่ 4 บ้านหินสูง/หมู่ 5 บ้านแก่งเจริญ/หมู่ 6 บ้านหินลาดกลุ่มที่ 3 ได้แก่ หมู่ 7/หมู่ 8 บ้านโนนม่วง/หมู่ 9 บ้านดอนสำราญ กลุ่มที่ 4 ได้แก่หมู่ 10 บ้านแสนตอ/หมู่ 11 บ้านกุดชมภู/ หมู่ 12 บ้านห้วยไผ่กลุ่มที่ 5 ได้แก่ หมู่ 13 บ้านโนนเจริญ/ หมู่ 14 บ้านโนนจิกน้อย/หมู่ 15บ้านดอนไม้งามกลุ่มที่ 6 ได้แก่ หมู่ 16 บ้านวังดู่/หมู่ 17บ้านใหม่นาคลอง/หมู่18 บ้านโนนโพธิ์ หมู่ 19 บ้านทุ่งพัฒนาเรื่องที่ 2 การกำหนดวัน เวลา สถานที่ การแข่งขันกีฬา กำหนดเป็นระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566- 2 มีนาคม 2566 ณ สนามกีฬาโรงเรียนบ้านโนนม่วง เรื่องที่ 3 การกำหนดประเภทการกีฬาสากล-กีฬาพื้นบ้าน ได้กำหนดเป็นกีฬาสากล แบ่งเป็น 6 ชนิดดังนี้ 1. กีฬาฟุตบอลชาย 7 คน (เดิม 11 คน)2. กีฬาฟุตบอลหญิง 7 คน (เดิม 11คน )3. กีฬาเซปักตะกร้อ (ชาย) 4. กีฬาวอลเลย์บอล (หญิง) 5. กีฬาวอลเลย์บอล (ชาย)6. เปตองผสม (ชาย-หญิง)กีฬาพื้นบ้าน เดิมมี 3 ชนิดกีฬา ใหม่ เป็น 6 ชนิดกีฬา ดังนี้ 1. มวยทะเล (ใหม่) 2 วิ่งผลัดกระสอบ 3 วิ่งผลัดซุปเปอร์แมน (ใหม่) 4 ชักเย่อ 5 เตะปิ๊บ 6 ตีกอลฟ์ภูธร ( ใหม่) เรื่องที่ 4 การกำหนดอัตราค่าบำรุงทีม อัตราแบบเดิม แข่งขันทุกหมู่บ้าน ส่งกีฬา 1-2 ประเภท จำนวน 500 บาท ส่งกีฬา 3-4 ประเภท 1,000 บาท ส่งกีฬา 5-6 ประเภท จำนวน 1,500 บาท อัตราแบบใหม่ แข่งขันแบบกลุ่ม ส่งกีฬา 1-2 ประเภท จำนวน 1,500 บาท ส่งกีฬา 3-4 ประเภท 2,000 บาท ส่งกีฬา 5-6 ประเภท จำนวน 2,500 บาทในที่ประชุมได้พิจารณา เห็นชอบในรายละเอียดอื่นๆ ดังนี้ 1.ให้มีการแข่งขันกีฬาสากลแบ่งเป็น 2 สาย 2.ระยะเวลาการรับสมัครในระหว่าง 20-12 กุมภาพันธ์ 2566 3.จับสลากการแข่งขัน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 4. รับสูจิบัตร วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 5.รอบการคัดเลือกการแข่งขัน ในระหว่างวันที่ 28กุมภาพันธ์- 2 มีนาคม 2566 6. พิธีเปิดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 พิธีเปิด 2 มีนาคม 2566ทั้งนี้เทศบาลตำบลกุดชมภู จะนำผลสรุปที่ได้จากการประชุม ไปปรับปรุง วางแผนดำเนินการในโครการแข่งขันกีฬากุดชมภูเกมส์ ครั้งที่ 24 เช่น การแบ่งกลุ่มหมู่บ้านออกเป็น 6 กลุ่ม การเพิ่มประเภทการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การกำหนดอัตราบำรุงทีม เพื่อให้ทุกหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬาได้ครบทุกประเภท ต่อไป

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 น. ณ เทศบาลตำบลกุดชมภู  นายมนตรี ศรีคำภา ร่วมประชุมพิจาณาการแก้ไขแผนพัฒาท้องถิ่น(พ.ศ. 2566-2570) เปลี่่ยนแปลงครั้งที่ 4/2565 โดยมีคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลตำบลกุดชมภูเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย 1 นายอภิชาติ เศรษฐมาตย์ ปลัดเทสบาลตำบลกุดชมภู 2 ตัวแทนสมาชิกสภาเทศบาลตำบลกุดชมภู จำนวน 3 ท่าน 3 ตัวแทนหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ จำนวน 3 ท่าน 3 ตัวแทนประชาคมหมู่บ้าน จำนวน 3 ท่าน 4 ผู้ทรงคุณวุติด้านต่าๆ จำนวน 3 ท่าน 5 หัวหน้าส่วนราชการเทศบาลตำบลกุดชมภูและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยว่ข้อง จาการประชุมร่วมได้ผลสรุปคือ การเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570 ในการจัดซ์้อครุภัณฑ์เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่งจำนวน 2 เครื่อง เดิมเป็นเครื่องศูบน้ำแบบซัมเมิส เปลียนแปลงเป็ฯเครืองสูบน้้าหอยโข่งแบบเครื่องยนต์เบนซิน เพื่อใช้บรรเทาความเดือดร้อนของประชุาชที่ประสบภัยพิบัตน้ำท่วมบ้านเรือน ที่เกษตร หรือที่สาธารณะ ส่วนราชการ ในพื้นที่ ซึ่งทางคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลตำบลกุดชมภู จะได้นำมติเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงการจัดซ์้อเครือ่งสูบน้ำ ไปประกาศใช้แผนพัฒนาที่เปลี่ยนแปลง และนำเสนอต่อสภาเทศบาลตำบกลุดชมภเพื่อทราบต่อไป

เทศบาลตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร  จังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินการจัดประชุมประชาคมระดับตำบลกุดชมภู เพื่อพิจารณาเห็นชอบแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) 

เพื่อรับฟังปัญหาความต้องการและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน ผ่านตัวแทนสัดส่วนประชาคม ที่มาจาก ผู้นำชุมชน หัวหน้า่ส่วนราชการในพื้นที่ ตัวแทน อสม. ตัวแทนกลุ่มต่างๆ  สมาชิกสภาเทศบาล 

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลกุดชมภู

ร้องเรียนร้องทุกข์

Map

Poll

ความพึงพอใจของท่าน ต่อการให้บริการของ เทศบาลตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในระดับใด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ